วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์


ประวัติ
สมชาย วงศ์สวัสดิ์



เกิด 31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 (อายุ 61 ปี)
นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
สังกัดพรรค พลังประชาชน
สมรสกับ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์

การศึกษา
สำเร็จการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชั้นมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป สำเร็จนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2513 ต่อมาปี 2516 เข้าศึกษาต่อเนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อ 2539 ปริญญาบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38 และในปี 2545 รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ประวัติการทำงาน :
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วสอบบรรจุเข้าเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา กระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2517 ต่อมาได้เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำกระทรวง พ.ศ. 2518 ผู้พิพากษาศาลแขวงเชียงใหม่ พ.ศ. 2519 จากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งเป้นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2520 แล้วจึงย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2526 จากนั้นย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพังงา พ.ศ. 2529 ต่อมาได้เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง พ.ศ. 2530 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2531 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2532 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. 2533 เลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 พ.ศ. 2536 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 2 พ.ศ. 2540
ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายวิชาการ พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้ย้ายไปเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2542 หลังจากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งสูงสุดเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม 11 พ.ย. 2542 หลังจากนั้นจึงย้ายไปเป็นปลัดกระทรวงแรงงาน 8 มี.ค. 2549 - ก.ย. 2549
หลังจากเกษียณอายุราชการแล้วได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขานิติศาสตร์ พ.ศ. 2542- 2549
  • กรรมการเนติบัณฑิตยสภา
  • ประธานคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ
  • กรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
  • กรรมการบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
  • กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.)
  • กรรมการคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • กรรมการคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
  • กรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
  • กรรมการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
  • กรรมการคณะกรรมการอัยการ (กอ.)
  • กรรมการคณะกรรมการตุลาการ
  • กรรมการคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ
  • กรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ประวัติทางการเมือง :
ในปี พ.ศ. 2550 เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ได้รับเลือกให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี
17 กันยายน 2551 ได้รับการคัดเลือกจากสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยผลการลงคะแนนปรากฏว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ 298 เสียง ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ 163 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ทำให้นายสมชาย ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ จึงได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย
การปฏิบัติงาน

  • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
    ความมั่นคง
  • แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาและสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีในภูมิภาค
  • จัดตั้งสภาเกษตรกรและสร้างระบบประกันความเสี่ยง เศรษฐกิจ
  • แก้ไขปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ
  • สร้างกลไกในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤติการเงินของโลกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว สิทธิมนุษยชน
  • เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค
    เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ภายหลังนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่รอพรรคพลังประชาชนไม่ได้ส่งตัวเข้าแถลงปิดคดีแต่อย่างใด
    ต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคพลังประชาชน ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 37 คน) เท่ากับว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย
    จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมีมติให้ยุบพรรคมัฌชิมาฯ และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 43 คน)
    ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 ให้ยุบพรรคชาติไทยตามไปอีกพรรค โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่ามีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้เอาไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นฟังไม่ขึ้น (รวม 29 คน)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :
    พ.ศ. 2523 :ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
    พ.ศ. 2527 :ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
    พ.ศ. 2529 :ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
    พ.ศ. 2532 :ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
    พ.ศ. 2535 :มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
    พ.ศ. 2540 :มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
    พ.ศ. 2542 :เหรียญจักรพรรดิมาลา (จ.ม.ร.)

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น