วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


ประวัติ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ชื่อเล่น: ปู) เกิด เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และหญิงคนแรกของประเทศไทย และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยสังกัดพรรคเพื่อไทย
 
ยิ่งลักษณ์ เกิดในจังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ในสาขารัฐประศาสนศาสตร์ทั้งคู่ ต่อมาเป็นผู้บริหารในธุรกิจซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ชาย และภายหลังเป็นประธาน บริษัท เอสซีแอสเซต จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส)
 
ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอชื่อยิ่งลักษณ์เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554
 
ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พรรคเพื่อไทยได้ผู้แทนราษฎร 265 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทย ที่พรรคการเมืองพรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภา จากนั้นยิ่งลักษณ์ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ วันศุกร์ ที่ 5 สิงหาคม 2554 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจากนั้น ในวันดังกล่าวยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ผู้แทนราษฎร เฝ้าฯ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช จันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2554 หลังจากนั้น จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งลงมา ในวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2554 ครอบครัว :
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 10 คน ของ เลิศ ชินวัตร และยินดี ชินวัตร (ธิดาในเจ้าหญิงจันทร์ทิพย์ (ณ เชียงใหม่) ระมิงวงศ์) โดยเคยติดตามเลิศ ชินวัตร ในสมัยที่บิดาหาเสียงในตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเยาวลักษณ์ ชินวัตร เมื่อครั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ยิ่งลักษณ์ ใช้ชีวิตคู่โดยไม่ได้จดทะเบียนกับอนุสรณ์ อมรฉัตร อดีตผู้บริหารในเครือบริษัท ซีพี อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และอดีตกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนชื่อ ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือไปค์
การศึกษา :
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ปริญญาตรีจาก คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชารัฐศาสตร์ (สิงห์ขาวรุ่น 21) เมื่อปี พ.ศ. 2531 และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2533
ประวัติการทำงาน :
เมื่อปี พ.ศ. 2534 ยิ่งลักษณ์ได้เข้าทำงานที่บริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ฐานข้อมูลและการสื่อสาร ในตำแหน่งพนักงานฝึกหัดด้านการตลาดและการขาย หลังจากนั้นในปีเดียวกันเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ จนกระทั่งสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายผลิตในเวลาต่อมา จากนั้น พ.ศ. 2537 จึงเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทโฆษณา เรนโบว์ มีเดีย ซึ่งเดิมเป็นแผนกงานหนึ่งของบริษัท ไอบีซี อินเตอร์เน22ชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ ทรูวิชั่นส์ ในปัจจุบัน ตำแหน่งสุดท้าย ก่อนลาออกจากบริษัทไอบีซีฯ คือตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการ จากนั้นในปี พ.ศ. 2545 เข้าสู่แวดวงธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์และการสื่อสาร ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และรองกรรมการผู้อำนวยการสายงานตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ชินคอร์ป) โดยได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัท เป็นตำแหน่งสุดท้าย
 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :
เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย

ประวัติ นายชวน หลีกภัย


ประวัติ
นายชวน หลีกภัย

เกิดวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481
ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

การศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง
มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา
สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตสภา สมัยที่ 17
พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
  สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 50 : 23 กันยายน 2535 - 12 กรกฎาคม 2538
  สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 53 : 9 พฤศจิกายน 2540 - 17 พฤศจิกายน 2543

ประวัติการทำงาน
ทนายความ

บทบาททางการเมือง :
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2523 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2524 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
พ.ศ. 2525-2526 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2526-2529 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2529-2531 ประธานสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2531-2532 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2533 รองนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2535-2538 นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2539 - 2540 ผู้นำฝ่ายค้าน
9 พฤศจิกายน 2540 - 2544 นายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :
พ.ศ. 2522 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2523 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2524 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2525 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2539 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
พ.ศ. 2541 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต่างประเทศ :
พ.ศ. 2536 Order of Sukatuna (Special Class), Raja สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2542 Order of the Sun (Grand Cross) สาธารณรัฐเปรู
พ.ศ. 2542 Grand Cross of the Order of Christ สาธารณรัฐโปรตุเกส
พ.ศ. 2543 Jose Dolores Estrada, Batalla de San Jacinto (Gran Cruz) สาธารณรัฐนิการากัว
พ.ศ. 2543 Romania's Star - The High Cross ประเทศโรมาเนีย

ประวัติ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

ประวัติ

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์


เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2463
ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
เป็นบุตรคนที่ 6 ของอำมาตย์โท หลวงวินิจ ฑัณทกรรม กับนางอ๊อด ติณสูลานนท์

การศึกษา
โรงเรียนวัดบ่อยาง
โรงเรียนวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
โรงเรียนเทคนิคทหารบก
โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
โรงเรียนยานเกราะ กองทัพบกสหรัฐอเมริกา ฟอร์ทน๊อกซ์ เคนตักกี้ สหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยกองทัพบท
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 9
 
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
  สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42 : 3 มีนาคม 2523 - 19 มีนาคม 2526
  สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43 : 30 เมษายน 2526 - 4 สิงหาคม 2529
  สมัยที่ 3 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 44 : 5 สิงหาคม 2529 - 3 สิงหาคม 2531

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2484 ผู้บังคับหมวดประจำกรมรถรบอินโดจีน
พ.ศ. 2498 ผู้บังคับกองร้อยที่ 2 กองพันที่ 1 กรมรถรบ
พ.ศ. 2493 รองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์
พ.ศ. 2497 ผู้บังคับกองพันที่ 5 กรมทหารม้าที่ 2
พ.ศ. 2501 รองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า
พ.ศ. 2506 รองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
และรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี
พ.ศ. 2511 ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี
พ.ศ. 2516 รองแม่ทัพภาคที่ 2
พ.ศ. 2517 แม่ทัพภาคที่ 2
พ.ศ. 2520 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2521 ผู้บัญชาการทหารบก
ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีและรัฐบุรุษ

บทบาททางการเมือง :
พ.ศ. 2502 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
พ.ศ 2511 สมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ 2516 สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
พ.ศ 2520 สมาชิกสภานโยบาย
พ.ศ 2520-2522 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ 2523-2531 นายกรัฐมนตรี 5 สมัย
วันที่ 28 เมษายน 2531 ยุบสภา

ผลงานสำคัญ :
- การปรับปรุงประมวลกฏหมายรัษฎากรและกฏหมายสรรพสินค้า
- การสร้างงานตามโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.)
- การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชน (กรอ.) เพื่อส่งเสริมบทบาททางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศ
-การดำเนินการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ภายในประเทศ โดยนำนโยบายการใช้ "การเมืองนำการทหาร"

ประวัติพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์




 
เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460
ที่ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
เป็นบุตรของนายแจ่ม กับนางเจือ ชมะนันทน์
สมรสกับคุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์
อสัญกรรม : วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546

การศึกษา
โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย
โรงเรียนปทุมคงคา
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยกองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 5

ประวัติ



เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460
ที่ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
เป็นบุตรของนายแจ่ม กับนางเจือ ชมะนันทน์
สมรสกับคุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์
อสัญกรรม : วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546

การศึกษา
โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย
โรงเรียนปทุมคงคา
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยกองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 5
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์



 
เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460
ที่ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
เป็นบุตรของนายแจ่ม กับนางเจือ ชมะนันทน์
สมรสกับคุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์
อสัญกรรม : วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546

การศึกษา
โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย
โรงเรียนปทุมคงคา
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยกองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 5
 เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460
ที่ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
เป็นบุตรของนายแจ่ม กับนางเจือ ชมะนันทน์
สมรสกับคุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์
อสัญกรรม : วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546

การศึกษา
โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย
โรงเรียนปทุมคงคา
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยกองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 5
 
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
รัฐบาลที่ 41 : 12 พฤศจิกายน 2520 - 29 กุมภาพันธ์ 2523
 
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2493 ฝ่ายเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3
พ.ศ. 2495 ผู้บังคับกองพันทหารราบ กรมผสมที่ 21
พ.ศ. 2498 อ.หัวหน้าวิชา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2500 หัวหน้ากรมการวางแผนสำนักงานวางแผนทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่ง เอเซียอาคเนย์(สปอ)
พ.ศ. 2502 หัวหน้ากองการทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียอาคเนย์(สปอ)
พ.ศ. 2506 รองเสนาธิการ กองอำนวยการกลาง สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2516 รองเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2517 เสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2518 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2520 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
 
บทบาททางการเมือง :
พ.ศ. 2511 สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการต่างประเทศ
พ.ศ. 2515 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พ.ศ. 2520 เลขาธิการสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2520 ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
พ.ศ. 2520 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2521 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2
ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523

ผลงานที่สำคัญ :
-การปรับปรุงสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านอันประกอบด้วย ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า
-ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียตเพื่อ กระชับความสัมพันธ์ กับประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ ทางการทูตและการค้ากับทั้งสอง ประเทศแน่นแฟ้นขึ้น
- จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- จัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน
- จัดตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
 
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
รัฐบาลที่ 41 : 12 พฤศจิกายน 2520 - 29 กุมภาพันธ์ 2523
 
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2493 ฝ่ายเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3
พ.ศ. 2495 ผู้บังคับกองพันทหารราบ กรมผสมที่ 21
พ.ศ. 2498 อ.หัวหน้าวิชา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2500 หัวหน้ากรมการวางแผนสำนักงานวางแผนทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่ง เอเซียอาคเนย์(สปอ)
พ.ศ. 2502 หัวหน้ากองการทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียอาคเนย์(สปอ)
พ.ศ. 2506 รองเสนาธิการ กองอำนวยการกลาง สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2516 รองเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2517 เสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2518 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2520 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
 
บทบาททางการเมือง :
พ.ศ. 2511 สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการต่างประเทศ
พ.ศ. 2515 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พ.ศ. 2520 เลขาธิการสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2520 ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
พ.ศ. 2520 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2521 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2
ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523

ผลงานที่สำคัญ :
-การปรับปรุงสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านอันประกอบด้วย ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า
-ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียตเพื่อ กระชับความสัมพันธ์ กับประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ ทางการทูตและการค้ากับทั้งสอง ประเทศแน่นแฟ้นขึ้น
- จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- จัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน
- จัดตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
 
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
รัฐบาลที่ 41 : 12 พฤศจิกายน 2520 - 29 กุมภาพันธ์ 2523
 
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2493 ฝ่ายเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3
พ.ศ. 2495 ผู้บังคับกองพันทหารราบ กรมผสมที่ 21
พ.ศ. 2498 อ.หัวหน้าวิชา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2500 หัวหน้ากรมการวางแผนสำนักงานวางแผนทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่ง เอเซียอาคเนย์(สปอ)
พ.ศ. 2502 หัวหน้ากองการทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียอาคเนย์(สปอ)
พ.ศ. 2506 รองเสนาธิการ กองอำนวยการกลาง สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2516 รองเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2517 เสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2518 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2520 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
 
บทบาททางการเมือง :
พ.ศ. 2511 สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการต่างประเทศ
พ.ศ. 2515 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พ.ศ. 2520 เลขาธิการสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2520 ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
พ.ศ. 2520 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2521 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2
ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523

ผลงานที่สำคัญ :
-การปรับปรุงสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านอันประกอบด้วย ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า
-ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียตเพื่อ กระชับความสัมพันธ์ กับประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ ทางการทูตและการค้ากับทั้งสอง ประเทศแน่นแฟ้นขึ้น
- จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- จัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน
- จัดตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
 
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
รัฐบาลที่ 41 : 12 พฤศจิกายน 2520 - 29 กุมภาพันธ์ 2523
 
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2493 ฝ่ายเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3
พ.ศ. 2495 ผู้บังคับกองพันทหารราบ กรมผสมที่ 21
พ.ศ. 2498 อ.หัวหน้าวิชา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2500 หัวหน้ากรมการวางแผนสำนักงานวางแผนทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่ง เอเซียอาคเนย์(สปอ)
พ.ศ. 2502 หัวหน้ากองการทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเซียอาคเนย์(สปอ)
พ.ศ. 2506 รองเสนาธิการ กองอำนวยการกลาง สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2516 รองเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2517 เสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2518 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2520 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
 
บทบาททางการเมือง :
พ.ศ. 2511 สมาชิกวุฒิสภา และคณะกรรมาธิการต่างประเทศ
พ.ศ. 2515 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พ.ศ. 2520 เลขาธิการสภาที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2520 ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
พ.ศ. 2520 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2521 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2
ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523

ผลงานที่สำคัญ :
-การปรับปรุงสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านอันประกอบด้วย ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า
-ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียตเพื่อ กระชับความสัมพันธ์ กับประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ ทางการทูตและการค้ากับทั้งสอง ประเทศแน่นแฟ้นขึ้น
- จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- จัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน
- จัดตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ประวัติ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์


ประวัติ
สมชาย วงศ์สวัสดิ์



เกิด 31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 (อายุ 61 ปี)
นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
สังกัดพรรค พลังประชาชน
สมรสกับ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์

การศึกษา
สำเร็จการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ชั้นมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป สำเร็จนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2513 ต่อมาปี 2516 เข้าศึกษาต่อเนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อ 2539 ปริญญาบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38 และในปี 2545 รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ประวัติการทำงาน :
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วสอบบรรจุเข้าเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา กระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2517 ต่อมาได้เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำกระทรวง พ.ศ. 2518 ผู้พิพากษาศาลแขวงเชียงใหม่ พ.ศ. 2519 จากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งเป้นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2520 แล้วจึงย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2526 จากนั้นย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพังงา พ.ศ. 2529 ต่อมาได้เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง พ.ศ. 2530 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2531 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2532 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. 2533 เลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 พ.ศ. 2536 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 2 พ.ศ. 2540
ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายวิชาการ พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้ย้ายไปเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2542 หลังจากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งสูงสุดเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม 11 พ.ย. 2542 หลังจากนั้นจึงย้ายไปเป็นปลัดกระทรวงแรงงาน 8 มี.ค. 2549 - ก.ย. 2549
หลังจากเกษียณอายุราชการแล้วได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขานิติศาสตร์ พ.ศ. 2542- 2549
  • กรรมการเนติบัณฑิตยสภา
  • ประธานคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ
  • กรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
  • กรรมการบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
  • กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.)
  • กรรมการคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • กรรมการคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
  • กรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
  • กรรมการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
  • กรรมการคณะกรรมการอัยการ (กอ.)
  • กรรมการคณะกรรมการตุลาการ
  • กรรมการคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ
  • กรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ประวัติทางการเมือง :
ในปี พ.ศ. 2550 เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ได้รับเลือกให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี
17 กันยายน 2551 ได้รับการคัดเลือกจากสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยผลการลงคะแนนปรากฏว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ 298 เสียง ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ 163 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ทำให้นายสมชาย ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ จึงได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย
การปฏิบัติงาน

  • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
    ความมั่นคง
  • แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาและสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีในภูมิภาค
  • จัดตั้งสภาเกษตรกรและสร้างระบบประกันความเสี่ยง เศรษฐกิจ
  • แก้ไขปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ
  • สร้างกลไกในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤติการเงินของโลกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว สิทธิมนุษยชน
  • เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค
    เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ภายหลังนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่รอพรรคพลังประชาชนไม่ได้ส่งตัวเข้าแถลงปิดคดีแต่อย่างใด
    ต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคพลังประชาชน ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 37 คน) เท่ากับว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย
    จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมีมติให้ยุบพรรคมัฌชิมาฯ และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 43 คน)
    ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 ให้ยุบพรรคชาติไทยตามไปอีกพรรค โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่ามีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้เอาไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นฟังไม่ขึ้น (รวม 29 คน)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :
    พ.ศ. 2523 :ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
    พ.ศ. 2527 :ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
    พ.ศ. 2529 :ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
    พ.ศ. 2532 :ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
    พ.ศ. 2535 :มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
    พ.ศ. 2540 :มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
    พ.ศ. 2542 :เหรียญจักรพรรดิมาลา (จ.ม.ร.)

    ประวัติ นายสมัคร สุนทรเวช


    ประวัติ

    นายสมัคร สุนทรเวช



    วันเกิด 13 มิถุนายน 2478
    สถานภาพ สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ที่ปรึกษาด้านการเงิน ของบริษัทใน เครือเจริญโภคภัณฑ์

    การศึกษา
    • ก่อนประถม โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม
    • ประถม โรงเรียนเทเวศน์ศึกษา
    • มัธยม โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
    • อาชีวะ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
    • อุดมศึกษา นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ศึกษาเพิ่มเติม
    • ประกาศนียบัตรวิชามัคคุเทศก์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
    • Dip. in Accounting and Business Administration จาก Bryant & Stratton College สหรัฐอเมริกา
     
    ประวัติการทำงาน :
    พ.ศ. 2496 : เจ้าหน้าที่สอนเครื่องลงบัญชีไฟฟ้า National Cash Registered Co.,Ltd. (พ.ศ. 2496-2497)
    พ.ศ. 2497 : เสมียนแผนกรถยนต์ และภายหลังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Barrow Brown Co.,Ltd. (พ.ศ. 2497-2502)
    พ.ศ. 2502 :ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Loxley Bangkok Co.,Ltd. (พ.ศ. 2502-2504)
    พ.ศ. 2504 :Free Lance Guide, World Travel Service Co.,Ltd. (พ.ศ. 2504-2506)
    พ.ศ. 2507 :ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2507-2509)
    พ.ศ. 2510 :Dietary Aid, Fox Rever Rehabilitation Hospital, Chicago U.S.A. (พ.ศ. 2510-2511)
    พ.ศ. 2512 :ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัท เอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2512-2513)
    พ.ศ. 2513 :ผู้บริหารฝ่ายขาย John Deere Thailand Co.,Ltd. (พ.ศ. 2513-2514)
    พ.ศ. 2514 :เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2514-2516)
    พ.ศ. 2516 :ลาออกจากงานประจำและทำงานการเมืองอย่างเดียวเรื่อยมา เนื่องจากภรรยามีรายได้มั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวแล้ว
     
    ประวัติทางการเมือง :
    พ.ศ. 2511 :เข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2511 - 2519)
    พ.ศ. 2514 :สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร (ได้รับเลือกตั้ง เมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514)
    พ.ศ. 2516 :สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 10 ธ.ค.16) และ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 23 ธ.ค.16)
    พ.ศ. 2518 :สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ม.ค. 2518)
    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    พ.ศ. 2519 :สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2519)
    รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519 - 2520)
    พ.ศ. 2522 :ก่อตั้งพรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2522)
    ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง และสถาบันการเงิน (พ.ศ. 2523 - 2526)
    พ.ศ. 2526 :สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2526)
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2526 - 2529)
    พ.ศ. 2529 :สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2529)
    ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง (พ.ศ. 2529 - 2531)
    พ.ศ. 2531 :สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2531)
    ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2531 - 2533)
    พ.ศ. 2533 :รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2533 - 2534)
    พ.ศ. 2535 :สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (มี.ค. 2535) (ก.ย. 2535)
    ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ. 2535 - 2538)
    พ.ศ. 2538 :สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2538)
    พ.ศ. 2539 :สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (พ.ย. 2539)
    พ.ศ. 2543 :ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2543 - 2547)
    พ.ศ. 2550 :รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน)
    พ.ศ. 2551 :นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน)
     
    เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :
    พ.ศ. 2517 :ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
    พ.ศ. 2518 :ตริตาภรณ์ช้างเผือก
    พ.ศ. 2519 :ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย
    พ.ศ. 2520 :รัตนาภรณ์ (ชั้นที่ ๒ )
    พ.ศ. 2522 :ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
    พ.ศ. 2524 :ประถมาภรณ์ช้างเผือก
    พ.ศ. 2526 :มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
    พ.ศ. 2527 :ทุติยจุลจอมเกล้า
    พ.ศ. 2527 :มหาวชิรมงกุฏ
    พ.ศ. 2539 :ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
    พ.ศ. 2545 :ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

    ประวัติ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์


    ประวัติ
     พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

     

    วันเกิด 28 สิงหาคม 2486
    สถานภาพ สมรสกับ พ.อ.หญิง คุณหญิง จิตรวดี จุลานนท์ (สกุลเดิม "สันทัดเวช")

    การศึกษา
    โรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์
    โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
    โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
    โรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 1
    โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 12
       - โรงเรียนศูนย์การทหารราบ
       - โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา
       - หลักสูตรการบริหารทรัพยากร กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา
    วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 36 (2536)
     
    ประวัติการทำงาน
    พ.ศ. 2508 ประจำศูนย์การทหารราบ
    พ.ศ. 2509 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 1 กรมผสมที่ 31
    พ.ศ. 2513 ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยรพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่ 2
    พ.ศ. 2515 ครูโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ
    พ.ศ. 2521 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมผสมที่ 23
    พ.ศ. 2526 ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 กองพลรบพิเศษที่ 1
    พ.ศ. 2532 ผู้บัญชาการกองรบพิเศษที่ 1
    พ.ศ. 2535 ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
    พ.ศ. 2537 แม่ทัพภาคที่ 2
    พ.ศ. 2540 ที่ปรึกษาพิเศษ กองทัพบก
    พ.ศ. 2540 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
    พ.ศ. 2541–2545 ผู้บัญชาการทหารบก
    พ.ศ. 2545–2546 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
    14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี
    พ.ศ. 2546 กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
     
    ตำแหน่งพิเศษ :
    พ.ศ. 2526 ราชองค์รักษ์เวร
    นายทหารคนสนิท นายกรัฐมนตรี (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)
    พ.ศ. 2531 นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
    พ.ศ. 2535 และ 2539 สมาชิกวุฒิสภา ครั้งที่ 1 และ 2
     
    เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกล้าหาญ :
    พ.ศ. 2517 เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
    พ.ศ. 2533 เหรียญกล้าหาญ รามาธิบดี (รามมาลา)
    พ.ศ. 2535 มหาวชิรมงกุฏ
    พ.ศ. 2538 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
    พ.ศ. 2539 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
    พ.ศ. 2544 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

    ประวัติ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร


    ประวัติ
    พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร




    วันเกิด 26 กรกฏาคม 2492
    ที่ จังหวัดเชียงใหม่
    สัญชาติ ไทย
    ศาสนา พุทธ

    การศึกษา
    โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
    อุดมศึกษา
    - พ.ศ. 2512 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10
    - พ.ศ. 2516 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 โดยสอบได้คะแนน เป็นที่ 1
    ปริญญาโท
    - ได้รับทุนรัฐบาล (ทุน ก.พ.) Eastern Kentucky University สหรัฐอเมริกา สาขา Criminal Justice
    ปริญญาเอก
    - Sam Houston State University สหรัฐอเมริกา สาขา Criminal Justice
     
     
    ประวัติการทำงาน
    พ.ศ. 2541 - 2543 ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยและดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคไทยรักไทย
    พ.ศ. 2539 - 2540 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี (ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ)
    - เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานด้านจราจร (ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชา)
    - เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม
    พ.ศ. 2537 - 2538 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ
    พ.ศ. 2530 - 2537 ลาออกจากราชการเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว ประธานกรรมการ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด
    พ.ศ. 2516 - 2530 รองผู้กำกับการนโยบายและแผนงาน/ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล
     
    บทบาททางสังคม :
    รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิสภามหาวิทยาลัย 6 แห่ คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
    เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิไทยคม และ เป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดที่จะนำ ดาวเทียมสื่อสาร "ไทยคม" มาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษา ผ่านดาวเทียม เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กชนบทผู้ยากไร้ที่ไม่สามารถ เรียนต่อ ได้มีโอกาสเรียนต่อในท้องถิ่นของตนเอง ทั้งนี้โดยได้ รับความร่วมมือจากกรม การศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการอำนวยการ สถาบันเอเชียการศึกษา
    ปี 2538 - ปัจจุบัน
        - กรรมการสภาที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
        - กรรมการที่ปรึกษา BANGKOK CLUB
        - กรรมการอำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
     
    รางวัลเกียรติคุณ :
    2539 - ได้รับรางวัล "Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards" จาก Criminal Justice Center, Sam Houston State University และได้รับรางวัล "Distinguished Alumni Award" จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน  เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2539
    2538 - ได้รับคัดเลือกไปเป็น 1 ใน 3 คนไทยดีเด่นซึ่งมีบทบาท สำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย  และฟิลิปปินส์ เข้ารับรางวัลจากสถานฑูตฟิลิปปินส์
    2537 - ได้รับรางวัล "บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคมเพื่อ สังคมของประเทศไทย ประจำปี 2536" จากสมาคมโทรคมนาคม  แห่งประเทศไทย
              - ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times ให้ เป็น 1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย
              - ได้รับคัดเลือกจากนิตยสาร Financial World ที่มีชื่อเสียงของ สหรัฐอเมริกาให้เป็นหนึ่งใน Asian CEO of the Year ได้รับ  พระราชทานปริญญา วารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
              - ได้รับคัดเลือกให้เป็นคนไทยคนแรกและเป็นบุคคลที่ 3 ที่ ได้รับทุน " Lee Kuan Yew Exchange Fellowship " จากประเทศสิงคโปร์ 2535
              - ได้รับรางวัล "1992 Asean Business Man of the Year" จาก Asean Institute ประเทศอินโดนีเซีย
              - ได้รับรางวัล "เกียรติยศจักรดาว" ด้านพัฒนาเศรษฐกิจจาก คณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียนเตรียมทหาร